วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การปกครองสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา


การปกครองสมัยสุโขทัยเเละอยุธยา

               การปกครองสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธย
 
การปกครองสมัยสุโขทัย

     อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก   ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
  
 อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
 
           ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย
   
                  แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้

      1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น   เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

             1. รูปแบบราชาธิปไตย  หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
             2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
             3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
            4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง

      2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย   การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์
อาณาจักรอยุธยา

อาณาจักรอยุธนาสถาปนาโดยพระรามาธิบดีที่ 1

       เมื่อพ.ศ. 1893 และถูกทำลายลงโดยกองทัพพม่าในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อ พ.ศ. 2310 มีกษัตริย์ปกครอง 34 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณบุรี ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีพุทธศาสนาหินยานเป็นศาสนาประจำอาณาจักร และมีความเชื่อด้านวิญญาณนิยมกับพุทธมหายานเจือปนด้วย ในราชสำนักใช้พิธีกรรมที่เป็ฯฮินดู-พราหมณ์ เพื่อสร้างอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานระหว่าง "ธรรมราชา" กับ "เทวราชา"

       มีเมืองที่สำคัญ 2 เมืองคือ ลพบุรีกับสุพรรณบุรี ลพบุรีเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมลัทธิศาสนาและวิชาการด้านต่างๆ สุพรรณบุรี เป็นศูนย์กลางของกำลังคนมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี

การเมืองอยุธยา
  
       การเมืองระดับสูง(อยุธยาตอนต้น) เป็นการแย่งชิงอำนาจของ 2 ราชวงศ์ ระหว่างราชวงศ์อู่ทองและราชวงศ์สุพรรณบุรี มีการแข่งส่งทูตไปเมืองจีนเพื่อสร้างฐานะของตนในอยุธยา เพราะการรองรับจากจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจในเอเชีย เท่ากับเป็นการเสริมความมั่นคงทางอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์อยุธยา
การขยายอำนาจทางการเมืองของอยุธยา ทำให้เกิดการแข่งขันและขัดแย้งกับพม่า โดนเฉพาะการแย่งชิงอำนาจเหนือเชียงใหม่และอาณาจักรมอญ(พม่าตอนล่าง) ทำให้อยุธยาพ่ายแพ้พม่าในพ.ศ. 2112 และถูกพม่าทำลายลงในพ.ศ. 2310(เสียกรุงครั้งที่ 2)
       ระบบการปกครองของอยุธยา เป็นระบบ"ราชาธิปไตย" หมายความว่า...กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดแต่ยังไม่มีการแบ่งระบบระหว่างเจ้ากับขุนนางอย่างแท้จริงเหมือนดังที่ปรากฏในสมัยตอนกลางรัตนโกสินทร์ การปกครองใช้ระบบ"ศักดินา" แบ่งชั้นคนในสังคมออกเป็น เจ้า-ขุนนาง-พระสงฆ์-ราษฎร มีการเกณฑ์แรงงาน"ไพร่" และเก็บอากร"ส่วย"เป็นผลิตผลและตัวเงิน
 

แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น

    1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า  จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
    2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน 
    3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
    4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง

ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่

    1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
    

    2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและ 
        ตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส ร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์  ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)
 3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์
        ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)
 
 
 
 

พรรคการเมืองไทย 2554

พรรคการเมื่องไทย 54

เบอร์หมายเลข พรรคการเมือง เลือกตั้ง 2554

1เพื่อไทยพรรคเพื่อไทย
2พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3ประชาธิปไตยใหม่พรรคประชาธิปไตยใหม่
4ประชากรไทยพรรคประชากรไทย
5รักประเทศไทยพรรครักประเทศไทย
6พลังชลพรรคพลังชล
7ประชาธรรมพรรคประชาธรรม
8ดำรงไทยพรรคดำรงไทย
9พลังมวลชนพรรค พลังมวลชน
10ประชาธิปัตย์พรรคประชาธิปัตย์
11ไทยพอเพียงพรรคไทยพอเพียง
12รักษ์สันติพรรครักษ์สันติ
13ไทยเป็นสุขพรรคไทยเป็นสุข
14กิจสังคมพรรคกิจสังคม
15ไทยเป็นไทพรรคไทยเป็นไทย
16ภูมิใจไทยพรรคภูมิใจไทย
17แทนคุณแผ่นดินพรรคแทนคุณแผ่นดิน
18เพื่อฟ้าดินพรรคเพื่อฟ้าดิน
19พรรค
เครือข่ายชาวนา
แห่งประเทศไทย
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20การเมืองใหม่พรรคการเมืองใหม่
21ชาติไทยพัฒนาพรรคชาติไทยพัฒนา
22เสรีนิยมพรรคเสรีนิยม
23ชาติสามัคคีพรรคชาติสามัคคี
24บำรุงเมืองพรรคบำรุงเมือง
25กสิกรไทยพรรคกสิกรไทย
26มาตุภูมิพรรคมาตุภูมิ
27ชีวิตที่ดีกว่าพรรคชีวิตที่ดีกว่า
28พลังสังคมไทยพรรคพลังสังคมไทย
29เพื่อประชาชนไทยพรรคเพื่อประชาชนไทย
30มหาชนรรคมหาชน
31ประชาชนชาวไทยพรรคประชาชนชาวไทย


หัวหน้าพรรคการเมืองไทย 54

ที่
ชื่อพรรคการเมือง
หัวหน้าพรรค
1
พรรคประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
2
พรรคประชากรไทย
นายสุมิตร สุนทรเวช
3
พรรคกิจสังคม
นายทองพูล ดีไพร
4
พรรคมหาชน
นายอิระวัชร์ จันทรประเสริฐ
5
พรรคไทเป็นไท
นายชูชาติ ประธานธรรม
6
พรรคกสิกรไทย
นายจำลอง ดำสิม
7
พรรคกฤษไทยมั่นคง
นายกฤศฌณพงศ์ นุสติพรลภัส
8
พรรคชีวิตที่ดีกว่า
นายวรรธวริทธ์ ตันติภิรมย์
9
พรรคสยาม
นายเพ็ชร สายพานทอง
10
พรรคเพื่อฟ้าดิน
นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ
11

พรรคทางเลือกใหม่
นายการุณ รักษาสุข
12

พรรคความหวังใหม่
นายชิงชัย มงคลธรรม
13

พรรคเพื่อนเกษตรไทย
นายทรงเดช สุขขำ
14

พรรคพลังเกษตรกร

นายอนันต์ กาญจนสุวรรณ
15
พรรคประชาราชนายเสนาะ เทียนทอง
16

พรรคดำรงไทย
นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู
17

พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
นายเอียน คิดดี
18
พรรคอาสามาตุภูมิ
นายมนตรี เศรษฐบุตร
19

พรรคชาติสามัคคี
นายนภดล ไชยฤทธิเดช
20

พรรคเพื่อไทย

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์
21

พรรคเพื่อแผ่นดิน
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
22

พรรคอธิปไตย
นายวีระศักดิ์ อุปถัมภ์
23

พรรครวมใจไทย-ชาติพัฒนา
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
24

พรรคแทนคุณแผ่นดิน
นายวิชัย ศิรินคร
25

พรรคชาติไทยพัฒนา
นายชุมพล ศิลปอาชา
26

พรรคอนาคตไทย
นายทะนงศักดิ์ ประดิษฐ์
27

พรรคเทียนแห่งธรรม
นายธนากร วีระกุลเดชทวี
28

พรรคอนุรักษ์นิยม
นายภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง
29

พรรคธรรมาภิบาลสังคม
นายสุรพงษ์ ภูธนะภิบูล
30

พรรคสุวรรณภูมิ
ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์
31

พรรคพลังไทย
นางวัชรียา ธนะแพทย์
32
พรรคมาตุภูมินายวิวัฒน์ ประวีณวรกุล
33

พรรคภูมิใจไทย

นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
34

พรรคเพื่อประชาชน
นายธนาณฐ ศรีวัฒนะ
35

พรรคพอเพียง
นางวันเพ็ญ เฟื่องงาม
36

พรรคต้นตระกูลไทย
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
37

พรรคเงินเดือนประชาชน
นายอิ่นแก้ว เทียนแก้ว
38

พรรคธรรมาธิปัตย์

นายธันวา ไกรฤกษ์
39
พรรคขัตติยะธรรม
ว่าที่ ร.ต.สุรภัศ จินทิมา
40

พรรคประชาภิวัฒน์
นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี
41

พรรคแนวร่วมมาตุภูมิ
นายสากล ศรีเสมอ
42

พรรคพลังพัฒนา
นายสนิท มาประจวบ
43

พรรคประชาธรรม

นายมุคตาร์ กีละ
44
พรรครวมไทยพัฒนา
นางสาวกิ่งกมล วายุโชติ
45
พรรคปวงชนชาวไทยนายเดชชาติ รัตนวรชาติ
46
พรรคการเมืองใหม่

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข